“มิตซูบิชิ ปาเจโร” ราชาแห่งทะเลทราย ชัยชนะ จากสนามแข่งขัน ดาการ์ แรลลี่
ดาการ์ แรลลี่: การแข่งขันวิบากของคนเก่ง และรถแกร่ง
การแข่งขัน ดาการ์ แรลลี่ หรือ ปารีส – ดาการ์ แรลลี่ เป็นการแข่งขันนานาชาติรถวิบากระยะทางไกล ที่จัดขึ้นทุกปี ซึ่งระยะทางการแข่งขันในแต่ละวันอาจสูงถึง 900 กิโลเมตร การแข่งขันครั้งแรกมีขึ้นในปี พ.ศ. 2521 ก่อนจะเป็นที่รู้จักในฐานะ การแข่งขันรถวิบากที่ยากที่สุดในโลก โดยการแข่งขันปีแรกครอบคลุมระยะทางราว 10,000 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นที่ Place du Trocadéro ในประเทศฝรั่งเศส ไปสู่ทะเลทราย ดาการ์ ในทวีปแอฟริกา
ในการแข่งขัน ปารีส – ดาการ์ แรลลี่ ปี 2521 มีรถแข่งเพียง 74 คัน จากรถแข่งทั้งหมดจำนวน 182 คัน ที่ฝันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้จนจบการแข่งขัน จึงเป็นบทพิสูจน์ว่าการแข่งขันรายการนี้ เป็นเวทีสำหรับคนเก่ง และรถแกร่ง เท่านั้น
มิตซูบิชิ กับการเข้าร่วม ดาการ์ แรลลี่: เพราะ เราไม่เคยประนีประนอมต่อการเอาชนะ
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส มีประสบการณ์การเข้าร่วม ปารีส ดาการ์ แรลลี่ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่า เป็นการแข่งขันที่ยากที่สุดในโลกเป็นเวลานานถึง 25 ปี พร้อมสร้างสถิติที่ยากที่จะลบ ด้วยการคว้าชัยชนะทั้งหมด 12 ครั้ง โดยรายละเอียดผลงานที่น่าสนใจของ มิตซูบิชิ ในการแข่งขันดังกล่าว ได้ถูกรวบรวมเอาไว้ที่นี่แล้ว
- พ.ศ. 2526: มิตซูบิชิ เข้าร่วมการแข่งขัน ปารีส ดาการ์ แรลลี่เป็นครั้งแรก
หลังจากที่การแข่งขัน ปารีส – ดาการ์ แรลลี่ ได้ถูกจัดขึ้นเป็นเวลาไม่กี่ปี มิตซูบิชิ ได้ตัดสินใจส่ง มิตซูบิชิ ปาเจโร รุ่นปีพ.ศ. 2525 เข้าร่วมการแข่งขันในประเภท รถยนต์ที่ผลิตเพื่อการจำหน่าย (Production Class) และ การแข่งขันทางไกล (Marathon Class) แม้ว่ารถยนต์ทั้ง 2 คันจะผ่านการดัดแปลงมาเพียงเล็กน้อย แต่ทั้งคู่สามารถเอาชนะอุปสรรคในการแข่งขันระยะทาง 10,000 กิโลเมตร ด้วยการอยู่ในการแข่งขันจนเข้าเส้นชัย ทั้งยังชนะรางวัลประเภททีมโดยทีมนักแข่ง Sonauto และ Yamaha อีกด้วย
- พ.ศ. 2527: มิตซูบิชิ ติด 1 ใน 3 อันดับ เป็นครั้งแรก
หลังการเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรก มิตซูบิชิ ใช้เวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น ในการติดอันดับ 1 ใน 3 อันดับแรกของการแข่งขัน ปารีส ดาการ์ โดยผู้ชนะอันดับ 3 ในรายการนี้ คือ Andrew Cowan พร้อมรถแข่งคู่ใจ มิตซูบิชิ ปาเจโร ที่ผ่านการดัดแปลงเครื่องยนต์ และช่วงล่าง ให้ผ่านเกณฑ์การแข่งขันประเภท รถยนต์ดัดแปลงที่ผลิตเพื่อการจำหน่าย (Modified-Production Class) ชัยชนะครั้งนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความแกร่งของตัวรถ ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรค ระยะทาง 11,000 กิโลเมตร ได้อย่างง่ายดาย
- พ.ศ. 2528: มิตซูบิชิ ชนะการแข่งขันอันดับ 1 เป็นครั้งแรก
แม้ว่าการแข่งขันในพ.ศ. 2528 จะถูกวางแผนมาให้เป็นการแข่งขันที่ยากที่สุด โดยที่การแข่งขันนั้นครอบคลุมระยะทางถึง 14,000 กิโลเมตร แต่นั่นไม่สามารถหยุดยั้ง มิตซูบิชิ ปาเจโร จากการคว้าชัยชนะอันดับ 1 กับนักแข่ง Zeniroli และ Da Silva และอันดับ 2 โดย Cowan และ Syer เอาไว้ได้ ด้วยเหตุที่ มิตซูบิชิ ปาเจโร สามารถคว้าชัยชนะอันดับ 1 ได้หลังเข้าร่วมการแข่งขันเป็นปีที่ 3 SUV คันนี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งทะเลทราย”
- พ.ศ. 2535: มิตซูบิชิ กวาดชัยชนะ 3 อันดับแรก ได้เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2535 เป็นอีกปีหนึ่งที่ การแข่งขันปารีส – ดาการ์ ถูกวางแผนมาให้มีความยากลำบากกว่าการแข่งขันปีอื่นๆ เนื่องจากการแข่งขันได้พาดผ่าน 11 ประเทศในแอฟริกา แต่ท้ายที่สุด มิตซูบิชิ ปาเจโร ได้กลับมาครองตำแหน่ง “ราชาแห่งทะเลทราย” อีกครั้ง ด้วยการกวาดชัยชนะ 3 อันดับแรก ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า จิตวิญญาณแห่งการแข่งขันวิบาก ได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น สำหรับนักแข่งที่คว้าชัยชนะในปีนี้ ประกอบไปด้วย Auriol, Weber และ Shinozuka
- พ.ศ. 2536: มิตซูบิชิ คว้าชัยชนะอันดับ 1 ได้อีกครั้ง
การแข่งขันปารีส – ดาการ์ ในปี 2536 นั้นครอบคลุมระยะทางเกือบ 9,000 กิโลเมตร และเป็นอีกปีหนึ่งที่ มิตซูบิชิ ปาเจโร ยังคงรักษาตำแหน่งผู้ชนะอันดับ 1 เอาไว้ได้ ทั้งยังแสดงสมรรถนะ และความคงทนของตัวรถ นอกจากนี้
มิตซูบิชิ ปาเจโร 3 คัน ยังติดอันดับผู้ชนะ 5 อันดับแรก ภายใต้การควบคุมของ 3 นักขับมากฝีมือ ประกอบไปด้วย Saby ในอันดับที่ 1, Weber ในอันดับที่ 4 และ Shinozuka ในอันดับที่ 5
- พ.ศ. 2540: มิตซูบิชิ ปาเจโร 6 คัน ติดอันดับผู้ชนะ 10 อันดับแรก
การแข่งขันปารีส – ดาการ์ พ.ศ. 2540 เป็นอีกปีหนึ่งที่น่าจดจำของ มิตซูบิชิ ปาเจโร่ เนื่องจากมี ปาเจโร จำนวน 6 คัน ติดอันดับผู้ชนะ 10 อันดับแรก ตั้งแต่อันดับที่ 1 ถึงอันดับที่ 4, อันดับที่ 7 และอันดับที่ 10 ทั้งยังเป็นปีที่ Kenjiro Shinozuka ผู้ชนะอันดับ 1 ของรายการ เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกในประวิติศาสตร์ ที่ชนะการแข่งขันแรลลี่ที่ยากที่สุด
- พ.ศ. 2541: มิตซูบิชิ ปาเจโร กวาดชัยชนะ 4 อันดับแรก ได้เป็นปีที่ 2
มิตซูบิชิ ปาเจโร ยังคงยึดตำแหน่งบนโพเดียม ไว้อย่างเหนียวแน่น ด้วยการกวาดชัยชนะ 4 อันดับแรก ได้ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 และ มิตซูบิชิ ปาเจโร คันที่ชนะเป็นอันดับ 1 ยังทิ้งระยะห่าง จากรถแข่งของค่ายอื่นซึ่งเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 5 ด้วยเวลาห่างกันถึง 8 ชั่วโมง สำหรับนักขับรายอื่นที่คว้าชัยชนะไปพร้อมกับ มิตซูบิชิ ปาเจโร ในการแข่งขันปารีส – ดาการ์ พ.ศ. 2541 ประกอบไปด้วย Fontenay, Shinozuka, Saby และ Masuoka
- พ.ศ. 2544: มิตซูบิชิ สร้างตำนานบทใหม่ไปกับนักแข่งหญิงคนแรก ผู้คว้าชัยชนะจาก ปารีส – ดาการ์
พ.ศ. 2544 เป็นอีก 1 ปีที่สำคัญของประวัติศาสตร์การแข่งขันปารีส – ดาการ์ เนื่องจาก Jutta Kleinschmidt เป็นนักแข่งหญิงคนแรกที่ชนะการแข่งขันรายการดังกล่าว ด้วยมิตซูบิชิ ปาเจโร นอกจากนี้ ยังมี Masuoka ในรถแข่งรุ่นเดียวกัน ตามเข้าเส้นชัยมาเป็นผู้ชนะการแข่งขันอันดับ 2 เพียงไม่กี่นาทีหลังนักแข่งหญิงอีกด้วย
- พ.ศ. 2545: ชัยชนะของ มิตซูบิชิ และ Masuoka
Masuoka เข้าร่วมการแข่งขันปารีส – ดาการ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 และในที่สุดเขาสามารถทำให้ความฝันของเขาเป็นความจริง ด้วยการคว้าถ้วยรางวัลการแข่งขันใน พ.ศ. 2545 พร้อมสร้างสถิติทิ้งห่างนักแข่งจากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ที่เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 9 ด้วยเวลาห่างกันมากกว่า 15 ชั่วโมง นอกจากนี้ มิตซูบิชิ ยังทำผลงานได้ดีในปีนี้ด้วยการคว้าชัยชนะตั้งแต่อันดับที่ 1 ถึงอันดับที่ 8
- พ.ศ. 2546: มิตซูบิชิ และนักแข่งสัญชาติญี่ปุ่นคนแรก ที่คว้าชัยชนะติดต่อกัน 2 ปี
พ.ศ. 2546 เป็นปีที่ มิตซูบิชิ ปาเจโร และ Masuoka ร่วมกันสร้างตำนานบทใหม่หลายบท ในการแข่งขันวิบากที่ท้าทาย ทั้งสถิตินักแข่งสัญชาติญี่ปุ่นคนแรก ที่คว้าชัยชนะจากปารีส – ดาการ์ ติดต่อกัน 2 ปี, เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขัน 20 ปี และผู้ชนะอันดับ 1 ทิ้งห่างจากผู้ชนะอันดับที่ 2 เป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง
- พ.ศ. 2547: มิตซูบิชิ และอีกก้าวสำคัญของนักแข่งชาวไทย
ในปีนี้ Stéphane Peterhansel นักแข่งผู้ที่คว้าชัยชนะการแข่งขันปารีส – ดาการ์ 6 สมัยได้สร้างความสำเร็จครั้งใหม่ กับการคว้าชัยชนะการแข่งขันรายการเดียวกันใน ประเภทรถยนต์ไปกับ มิตซูบิชิ ปาเจโร นอกจากนี้ มิตซูบิชิ ยังภูมิใจไปกับชาวไทยหลัง พรสวรรค์ ศิริวัฒนกุล นักแข่งสัญชาติไทยจบการแข่งขันในอันดับที่ 15 ด้วยรถแข่ง มิตซูบิชิ แอลสองร้อย สตราดา
- พ.ศ. 2548: ชัยชนะครั้งที่ 10 ของมิตซูบิชิ
Peterhansel ผู้ชนะการแข่งขันปารีส – ดาการ์ในปีที่ผ่านมา ยังคงรักษาตำแหน่งผู้ชนะอันดับ 1 เอาไว้ด้วย มิตซูบิชิ ปาเจโร และในปีนี้ มิตซูบิชิ ยังคงสร้างตำนานบทใหม่ด้วยการ เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ชนะการแข่งขันรายการนี้ติดต่อกัน 5 ปี ทั้งยังคว้าชัยชนะมาทั้งหมด 10 ครั้งแล้วด้วย
- พ.ศ. 2549: สานต่อความสำเร็จไปกับ มิตซูบิชิ
มิตซูบิชิ ยังคงเป็นผู้ชนะการแข่งขัน ดาการ์ อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ มี Luc Alphand และ Gilles Picard คว้าชัยชนะอันดับ 1 จากรายการด้วยมิตซูบิชิ ปาเจโร และยังมีรถแข่งรุ่นเดียวกันนี้จำนวน 3 คัน ติดอันดับผู้ชนะ 5 อันดับแรกอีกด้วย
- พ.ศ. 2550: มิตซูบิชิ ‘ราชาแห่งทะเลทราย’ ชัยชนะ 7 ปีซ้อน รวมการคว้าชัยทั้งหมด 12 ครั้ง
“ราชาแห่งทะเลทราย” เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดของ มิตซูบิชิ ปาเจโร่ หลังคว้าชัยชนะอีกครั้งอย่างสวยงามในการแข่งขันดาการ์ พ.ศ. 2550 จนนำไปสู่สถิติที่ยังไม่มีใครสามารถทำลายได้จนถึงตอนนี้ ด้วยการเป็นผู้ผลิตรถยนต์ ที่มีชัยชนะ 7 ปีซ้อน รวมการคว้าชัยทั้งหมด 12 ครั้ง ซึ่งสถิติดังกล่าวได้รับการรับรองโดย กินเนสบุ๊ก เวิลด์ เรคคอร์ด เรียบร้อยแล้ว